
BANTUK เป็นแพลตฟอร์มจับคู่ระหว่างงานกับรถ ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้ขนส่ง ระบบ BANTUK เกิดจากแนวคิดที่เรียบง่ายแต่ยังคลาสสิคอยู่ ใบงานมาจากผู้ว่าจ้างที่ต้องการหารถวิ่งส่งสินค้า ส่วนผู้ขนส่งซึ่งมีรถก็ต้องการหางานเสริมเพราะมีรถว่างงาน เช่น กรณีไปส่งของปลายทางเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ไม่อยากตีรถว่างกลับ ผู้ขนส่งเมื่อวิ่งงานจบแล้วก็อยากได้เงินค่าเที่ยวไว เรามีพันธมิตรธุรกิจทางการเงินคอยให้บริการเงินด่วน (Quick Cash)
BANTUK พัฒนาโดยบริษัท DX Innovation ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นพัฒนาและให้บริการโปรแกรมบริการจัดการขนส่งและกระจายสินค้า (TMS Software) มามากกว่า 15 ปี เราสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก และกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์
- กลุ่มธุรกิจค้าปลีก: ลูกค้ากลุ่มนี้ใช้งานโปรแกรม TMS เพื่อการวางแผนและบริหารจัดการการกระจายสินค้าจากคลังสินค้าไปยังร้านสาขาทุกวันเพื่อเติมสินค้า ตัวอย่างลูกค้าในกลุ่มนี้ เช่น บริษัท Thai Food Group และ CPALL
- กลุ่มผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติส์: เป็นลูกค้าอีกกลุ่มที่ต้องใช้โปรแกรม TMS เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับออเดอร์จากลูกค้า การวางแผนเส้นทาง การส่งงานให้ผู้ขนส่ง การติดตามและควบคุมการปฏิบัติงาน รวมไปถึงเก็บหลักฐานการส่งมอบสินค้าสำเร็จ (Proof of Delivery: POD)
ถึงแม้ทั้ง 2 กลุ่มจะอยู่คนละกลุ่มธุรกิจแต่มีความคล้ายกันอย่างหนึ่งคือ ทั้งคู่ต้องหาบริษัทรถร่วมเพื่อจัดส่งสินค้า โดยปกติฝ่ายจัดซื้อของบริษัทเหล่านี้จะเรียกบริษัรถร่วมหลายรายมาทำสัญญาว่าจ้างวิ่งงานแบบประจำ โดยกำหนดว่าแต่ละรายจะต้องส่งรถเข้ามารับงานกี่เที่ยว หรือกี่คันต่อวัน
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้เสมอ ที่บริษัทรถร่วมไม่สามารถส่งรถวิ่งงานได้ตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือในบางครั้งผู้ว่าจ้างเองมีความต้องการใช้รถมากกว่าแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนที่แพลตฟอร์ม e-Commerce มีการทำแคมเปญโปรโมชั่นต่างๆ จากสาเหตุความไม่แน่นอนเหล่านี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดส่งจำเป็นต้องหารถวิ่งเสริมในกรณีเร่งด่วนอยู่เป็นประจำ ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 10% ของจำนวนเที่ยววิ่งทั้งหมด ปัญหาของการหารถเสริมคือ บางครั้งหารถไม่ได้ตามกำหนดเวลา ทำให้การจัดส่งสินค้าล่าช้า หรือรถที่หาได้มักจะมีต้นทุนค่าขนส่งที่สูงกว่าปกติ เราเรียกงานขนส่งที่อยู่นอกเหนือจากสัญญาวิ่งงานประจำเหล่านี้ว่า งานขนส่งแบบ Spot
ความไม่แน่นอนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นความท้าทายคือ เราจะทำอย่างไรให้เรื่องการหารถเสริมในกรณีเร่งด่วนเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับผู้ว่าจ้างทุกคน หารถได้ทันเวลา และทำให้ได้ภายใต้ต้นทุนค่าขนส่งที่สมเหตุสมผล
ในขณะเดียวกันผู้ขนส่งเองก็มีปัญหาเช่นกันคือ มีรถว่างที่สามารถพร้อมรับงาน หรือบางครั้งหลังจากส่งสินค้าเสร็จมีรถว่างขากลับ ผู้ขนส่งจึงต้องการหางานเสริมเช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้นจะต้องตีรถเที่ยวเปล่ากลับ
จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในประเทศไทยมีกลุ่มธุรกิจค้าปลีกประมาณ 130,000 ราย เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ประมาณ 5,000 ราย และมีรถขนส่งสินค้าประมาณ 1,200,000 คัน ในปัจจุบันตลาดระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ขนส่งยังไม่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ จึงยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนาให้ตลาดนี้มีความก้าวหน้าได้มาตรฐานเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง ยุโรปและอเมริกา
ลองจินตนาการดูว่าเราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ได้มากแค่ไหน หากมีใครสามารถรวบรวมสมาชิกผู้ขนส่งทั่วประเทศมาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้ผู้ว่าจ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ส่วนผู้ขนส่งก็สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มนี้เพื่อค้นหางานได้เช่นเดียวกัน
ทั้งหมดนี้เป็นคำตอบจากคำถามที่ว่าแพลตฟอร์ม BANTUK คืออะไร และทำไมอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์จำเป็นต้องมี BANTUK
- Log in to post comments
- 15 views